วรรณยุกต์ในภาษาไทย

วรรณยุกต์ในภาษาไทย นับเป็นเสียงดนตรีตามตำราภาษาไทยสมัยโบราณ โดยแบ่งออกเป็น ๕ เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี และจัตวา และมีเครื่องหมายกำกับเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งเรียกว่า “วรรณยุกต์” ด้วยเช่นกัน โดยที่เครื่องหมายวรรณยุกต์ อาจไม่ได้บ่งบอกถึงเสียงวรรณยุกต์นั้นเสมอไป เว้นแต่เมื่อกำกับคำเป็น ที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง

เสียงวรรณยุกต์ไทยตามหลักภาษาศาสตร์ แบ่งได้ดังนี้

  • เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง)
  • เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ)
  • เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)
  • เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง)
  • เสียงจัตวา (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ-กึ่งสูง)

รูปวรรณยุกต์

เครื่องหมายวรรณยุกต์ในภาษาไทย มี ๔ รูป ดังนี้

ไม้เอก (-่), ไม้โท (-้), ไม้ตรี (-๊) และ ไม้จัตวา (-๋)

อย่างไรก็ตาม ในจารึกสมัยโบราณ เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มีเครื่องหมายวรรณยุกต์เพียง ๒ รูป คือ ไม้เอก (-่) และไม้โท (-๋) เช่น น๋อง (น้อง), ห๋า (ห้า)

การผันเสียงวรรณยุกต์

โดยทั่วไปเสียงพยางค์หนึ่งในภาษาไทย สามารถผันได้ ๕ เสียงวรรณยุกต์ แต่ในภาษาเขียน จะมีกฎเกณฑ์การผันที่ตายตัว ดังนี้

หมู่อักษร-คำเป็นคำตาย เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา
อักษรกลาง คำเป็น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
อักษรกลาง คำตาย สระสั้น กะ ก้ะ ก๊ะ ก๋ะ
อักษรกลาง คำตาย สระยาว กาบ ก้าบ ก๊าบ ก๋าบ
อักษรสูง คำเป็น ข่า ข้า ขา
อักษรสูง คำตาย สระสั้น ขะ ข้ะ ข๋ะ
อักษรสูง คำตาย สระยาว ขาบ ข้าบ
อักษรต่ำ คำเป็น คา ค่า ค้า
อักษรต่ำ คำตาย สระสั้น ค่ะ คะ
อักษรต่ำ คำตาย สระยาว คาบ ค้าบ ค๋าบ

คำตายของอักษรกลางและอักษรสูง ไม่ว่าสระจะเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ผันวรรณยุกต์ตามรูปแบบเดียวกัน เว้นแต่คำตายของอักษรต่ำ เมื่อเป็นสระเสียงสั้นหรือเสียงยาวจะผันคนละแบบ

อักษรต่ำและอักษรสูงไม่สามารถผันให้ครบ ๕ เสียงได้ จึงมักจะใช้อักษรเสียงเดียวกันจากอีกหมู่หนึ่งมาใช้เป็นอักษรนำ โดยมีอักษรสูงนำ (ยกเว้นอักษร อ ซึ่งเป็นอักษรกลาง สามารถนำ อักษร ย ได้) เช่น นา หน่า น่า น้า หนา, มี หมี่ มี่ มี้ หมี

สระในภาษาไทย

สระ หมายถึง เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา ตามหลักภาษา ถือว่าพยัญชนะจำเป็นต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้

รูปสระ

รูปสระในภาษาไทยมี ๒๑ รูปดังนี้

  1. ะ เรียกว่า วิสรรชนีย์
  2. ั เรียกว่า ไม้หันอากาศ หรือ ไม้ผัด
  3. ็ เรียกว่า ไม้ไต่คู้
  4. า เรียกว่า ลากข้าง
  5. ิ เรียกว่า พินทุ หรือ พิทุอิ
  6. ่ เรียกว่า ฝนทอง
  7. ่ ่ เรียกว่า ฟันหนู
  8. ํ เรียกว่า นฤคหิต หรือ หยาดน้ำค้าง
  9. ุ เรียกว่า ตีนเหยียด
  10. ู เรียกว่า ตีนคู้
  11. เ เรียกว่า ไม้หน้า
  12. ใ เรียกว่า ไม้ม้วน
  13. ไ เรียกว่า ไม้มลาย
  14. โ เรียกว่า ไม้โอ
  15. อ เรียกว่า ตัวออ
  16. ย เรียกว่า ตัวยอ
  17. ว เรียกว่า ตัววอ
  18. ฤ เรียกว่า ตัว ฤ (รึ)
  19. ฤๅ เรียกว่า ตัว ฤๅ (รือ)
  20. ฦ เรียกว่า ตัว ฦ (ลึ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
  21. ฦๅ เรียกว่า ตัว ฦๅ (ลือ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

เสียงสระ

เสียงสระในภาษาไทยมี ๓๒ เสียง ดังนี้

อา อิ อี อึ อื อุ อู
เอะ เอ เเอะ เเอ เอียะ เอีย เอือะ เอือ
อัวะ อัว โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ
อำ ใอ ไอ เอา ฤๅ ฦๅ

เมื่อเวลาออกเสียงสระ เช่น อะ อา เอะ เอ เอียะ เอีย จะออกเสียงแตกต่างกัน บางตัวออกเสียงสั้น บางตัวออกเสียงยาว บางตัวเหมือนมีสระสองเสียงกล้ำกัน ดังนั้น จึงจัดแบ่งเสียงสระเป็นพวกใหญ่ ๆ ได้ 5 พวกด้วยกัน คือ

  • สระเสียงสั้น ได้แก่ สระที่ออกเสียงสั้น คือ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ไอ ใอ เอา
  • สระเสียงยาว ได้แก่ สระที่ออกเสียงยาว คือ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ
  • สระเดี่ยว ได้แก่ สระที่เปล่งเสียงออกมาเป็นเสียงเดียว ไม่มีเสียงอื่นประสมมี 18 ตัวได้แก่ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ โอะ โอ เอาะ ออ
  • สระประสม คือ สระที่มีเสียงสระเดี่ยว 2 ตัวประสมกัน มี 6 ตัวได้แก่
  1. เอียะ เสียง อิ กับ อะ ประสมกัน
  2. เอีย เสียง อี กับ อา ประสมกัน
  3. เอือะ เสียง อึ กับ อะ ประสมกัน
  4. เอือ เสียง อื กับ อา ประสมกัน
  5. อัวะ เสียง อุ กับ อะ ประสมกัน
  6. อัว เสียง อู กับ อา ประสมกัน
  • สระเกิน คือ สระที่มีเสียงซ้ำกับสระเดี่ยว ต่างกันก็แต่ว่าสระเกินจะมีเสียงพยัญชนะประสมหรือสะกดอยู่ด้วย มี 8 ตัว ได้แก่
  1. ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ (รึ รือ ลึ ลือ) มีเสียงพยัญชนะ ร ล ประสมอยู่
  2. อำ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ม สะกด
  3. ใอ ไอ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ย สะกด (คือ อัย)
  4. เอา มีเสียง อะ และพยัญชนะ ว สะกด

บางตำราถือว่าภาษาไทยมี 21 เสียง ทั้งนี้ คือไม่รวมสระเกินซึ่งถือว่าเป็นหน่วยเสียงในตัวเองโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว และไม่รวมสระประสมเสียงสั้น คือ เอียะ เอือะ อัวะ เนื่องจากมีที่ใช้ในภาษาไทยน้อยมาก และส่วนใหญ่จะเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติซึ่งไม่ได้ใช้สื่อความหมายอื่น

การใช้สระ

  1. สระอะ (-ะ) เขียนไว้หลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอะ เช่น กะ จะ ปะ
  2. สระอา (-า) เขียนไว้หลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอา เช่น มา กา ตา
  3. สระอิ (-ิ) เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอิ เช่น บิ สิ มิ
  4. สระอี (-ี) เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอี เช่น ปี ดี มี
  5. สระอึ (-ึ) เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอึ เช่น หึ สึ
  6. สระอื (-ื) เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอื แต่การใช้สระอื ต้องมี อ มาประกอบด้วย เช่น มือ ถือ ลือ
  7. สระอุ (-ุ) เขียนไว้ใต้พยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอุ เช่น ผุ มุ ยุ
  8. สระอู (-ู) เขียนไว้ใต้พยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอู เช่น ดู รู งู
  9. สระเอะ (เ-ะ) เขียนไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอะ เช่น เละ เตะ เกะ
  10. สระเอ (เ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอ เช่น เก เซ เข
  11. สระแอะ (แ-ะ) เขียนไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระแอะ เช่น และ แพะ แกะ
  12. สระแอ (แ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระแอ เช่น แล แพ แก
  13. สระเอียะ (เ-ียะ) เขียนไว้ทั้งหน้า บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอียะ เช่น เผียะ เพียะ เกียะ
  14. สระเอีย (เ-ีย) เขียนไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอีย เช่น เสีย เลีย เปีย
  15. สระเอือะ (เ-ือะ) เขียนไว้ทั้งหน้า บน และหลังพยัญชนะ
  16. สระเอือ (เ-ือ) เขียนไว้ทั้งหน้า บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอือ เช่น เสือ เรือ เจือ
  17. สระอัวะ (-ัวะ) เขียนไว้บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอัวะ เช่น ผัวะ ยัวะ
  18. สระอัว (-ัว) เขียนไว้บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอัว เช่น ตัว รัว หัว
  19. สระโอะ (โ-ะ) เขียนไว้หน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระโอะ เช่น โปะ โละ แต่ถ้ามีตัวสะกด จะตัดสระโอะออกเหลือแต่พยัญชนะต้นกับตัวสะกด เรียกว่า สระโอะลดรูป เช่น คน รก จง
  20. สระโอ (โ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระโอ เช่น โต โพ โท
  21. สระเอาะ (เ-าะ) เขียนไว้ทั้งหน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอาะ เช่น เลอะ เถอะ เจอะ
  22. สระออ (-อ) เขียนไว้หลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระออ เช่น ขอ รอ พอ
  23. สระเออะ (เ-อะ) เขียนไว้ทั้งหน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเออะ เช่น เลอะ เถอะ เจอะ
  24. สระเออ (เ-อ) เขียนไว้ทั้งหน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเออ เช่น เจอ เธอ เรอ ถ้ามี ย สะกด จะตัด อ ออกแล้วตามด้วย ย เลย เช่น เขย เกย เฉย เรียกว่า สระเออลดรูป ถ้ามีตัวสะกดอื่น ๆ ที่ไม่ใช้ ย จะเปลี่ยน อ เป็นสระอิ เช่น เกิด เลิก เงิน เรียกว่า สระเออเปลี่ยนรูป
  25. สระอำ (-ำ) เขียนไว้บนและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอำ เช่น รำ ทำ จำ
  26. สระใอ (ใ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระใอ มีทั้งหมด 20 คำ ได้แก่ ใกล้ ใคร ใคร่ ใจ ใช่ ใช้ ใด ใต้ ใน ใบ้ ใฝ่ ใย สะใภ้ ใส ใส่ ให้ ใหม่ ใหล ใหญ่ หลงใหล ใหญ่
  27. สระไอ (ไ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระไอ เช่น ไป ไซ ไส ใช้กับคำที่มาจากภาษาอังกฤษ เช่น ไกด์ ไมล์ สไลด์ ใช้กับคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตที่แผลงสระอิเป็นสระไอ เช่น ตรี – ไตร ใช้กับคำที่มาจากภาษาเขมร เช่น สไบ
  28. สระเอา (เ-า) เขียนไว้หน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอา เช่น เกา เผา เรา

ตัวสะกดในภาษาไทย

มาตราตัวสะกดในภาษาไทย

ตัวสะกด เป็นพยัญชนะที่ใช้บังคับเสียงท้ายคำ หรือ พยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายสระ และมีเสียงประสมเข้ากับสระ มาตราตัวสะกดมีอยู่ 8 แม่ ได้แก่ แม่กง แม่กน แม่กม แม่กก แม่กด แม่กบ แม่เกย และแม่เกอว

  • มาตราแม่ กก

แม่กก คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน “ก” เป็นตัวสะกด เช่น
กระจก อ่านว่า กระ – จก พรรค อ่านว่า พัก
มัฆวาน อ่านว่า มัก – คะ – วาน สุนัข อ่านว่า สุ – นัก

  • มาตราแม่ กน

แม่กน คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน “น” เป็นตัวสะกด เช่น
บานชื่น อ่านว่า บาน – ชื่น บริเวณ อ่านว่า บอ – ริ – เวน
ปัญญา อ่านว่า ปัน – ยา จราจร อ่านว่า จะ – รา – จอน
เทศบาล อ่านว่า เทด – สะ – บาน พระกาฬ อ่านว่า พระ – กาน

  • มาตราแม่ กบ

แม่กบ คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน “บ” เป็นตัวสะกด เช่น
ธูป อ่านว่า ทูบ ภาพ อ่านว่า พาบ
กราฟ อ่านว่า กร๊าบ มณฑป อ่านว่า มน – ดบ
ลาบ อ่านว่า ลาบ อาภัพ อ่านว่า อา – พับ

  • มาตราแม่ กด

แม่กด คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน “ด” เป็นตัวสะกด เช่น
เสร็จ อ่านว่า เส็ด สมเพช อ่านว่า สม – เพด
ก๊าซ อ่านว่า ก๊าด จราจร อ่านว่า จะ – รา – จอน
ประเสริฐ อ่านว่า ประ – เสิด ทายาท อ่านว่า ทา – ยาด

  • เสียงพยัญชนะท้าย (หรือตัวสะกด) มี 9 มาตรา ได้แก่

1. แม่ ก กา คำที่ไม่มีตัวสะกด
2. แม่ กก (- k) / ก / ได้แก่ ก ข ค ฆ
3. แม่ กด (- t) / ด / ได้แก่ จ ด ต ถ ท ธ ฎ ฏ ฑ ฒ ช ซ ศ ษ ส
4. แม่ กบ (- p) / บ / ได้แก่ บ ป พ ภ ฟ
5. แม่ กน (- n) / น / ได้แก่ น ณ ญ ร ล ฬ
6. แม่ กง (- n) / ง / ได้แก่ ง
7. แม่ กม (- m) / ม / ได้แก่ ม
8. แม่ เกย (- j) / ย / ได้แก่ ย
9. แม่ เกอว (- w) / ว / ได้แก่ ว

แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

– มาตราตัวสะกดไม่ตรงรูป 4 มาตรา ได้แก่ 1. แม่ กก ,2. แม่ กด ,3. แม่ กบ , 4. แม่ กน
– มาตราตัวสะกดตรงรูป 4 มาตรา ได้แก่ 1. แม่ กง 2. แม่กม ,3. แม่ เกย ,4. แม่ เกอว
สรุป เสียงพยัญชนะมี 44 รูป 21 เสียง

ที่มา :http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%94

ความเป็นมาของตัวอักษรไทย

1.ความเป็นมาของตัวอักษรไทย

                              1.1 วิวัฒนาการของตัวอักษรไทย

ตัวอักษรไทยในยุคแรกๆ สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากตัวอักษรอินเดียแต่ยังไม่ปรากฎมีหลักฐานชัดเจน และใช้ตัวอักษรขอมหวัดในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ ในระยะต่อมาเมื่อประมาณในปี พ.ศ. 1826

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นใช้ ที่เรียกว่า “ลายสือไทย” ลายสือไทยที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นนี้ได้ดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอม โดยพยายามให้ลักษณะของตัวอักษรสามารถเขียนได้ง่ายขึ้น ทรงกำหนดได้วางรูปสระไว้ให้อยู่ในบรรทัดรวมกับตัวพยัญชนะทั้งหมดเช่นเดียวกับแบบอย่างตัวอักษรของโรมัน และทรงคิดให้มีวรรณยุกต์กำกับเสียงด้วยอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของภาษาไทย จนถึงทุกวันนี้

ลายสือไทยที่พระองค์ทรงประดิษฐ์ขึ้นนี้ ได้นำมาใช้เป็นต้นแบบของการพัฒนารูปแบบตัวอักษรในยุคต่อๆมา ที่เด่นชัดได้แก่ ยุคสมัยของพระเจ้าฦๅไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1900 ได้เปลี่ยนเอาสระ อิ อี อึ อื  ขึ้นไปเป็นร่ม และนำเอาสระ อุ อู ลงไปเป็นรองเท้าของพยัญชนะ (โดยเทียบเคียงจากศิลาทั้งสองสมัย) ส่วนรูปแบบของตัวอักษรจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อย ในปี พ.ศ. 2223 รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้พัฒนารูปแบบตัวอักษรอีกครั้ง โดยได้เปลี่ยนแปลงจากลักษณะเส้นโค้งของตัวอักษรมาเป็นเส้นตรงและเป็นเหลี่ยมมากขึ้น ทำให้สามารถเขียนได้สะดวกขึ้น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบตัวอักษรครั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาตัวอักษรไทย เพราะได้กำหนดให้เป็นแบบอย่างของตัวอักษรไทยที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้ การเปลี่ยนแปลงในระยะหลังที่พอจะพบเห็นได้เป็นลักษณะลีลาของการเขียน เช่น แบบอย่างลักษณะตัวอักษรข้อความที่เรียกว่า “แบบไทยย่อ” ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่มีลีลาการเขียนเป็นแบบตัวเอน เส้นขนานกันเป็นส่วนใหญ่ และเน้นหางตัวอักษรให้มีลีลาที่อ่อนช้อย

รูปแบบตัวอักษรไทยที่ดูแล้วมีรูปลักษณ์แปลกตาไปจากเดิม ยุคที่มีการนำเอาตัวอักษรไทยเข้ามาใช้ในการพิมพ์ ในปี พ.ศ.2371 ได้มีการหล่อตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรก โดย เจมส์ โลว์ เอกสารที่จัดพิมพ์ขึ้นนั้นเป็นตำราไวยากรณ์ไทย ชื่อ  A GRAMAR OF THE THAI ตัวอักษรเป็นลักษณะแบบคัดลานมือ รูปลักษณ์ที่ดูแปลกตาไปเนื่องจากเป็นการแกะตัวอักษรจากบล็อก และหล่อจากแม่พิมพ์ทองแดง แทนการใช้วัสดุขีดเขียน หรือจารึกดังเช่นสมัยก่อน การพัฒนาระบบการพิมพ์ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ.2381 หมอบรัดเลย์ ได้ทำการหล่อตัวพิมพ์ขึ้นใช้เองในประเทศไทย รูปแบบตัวอักษรขณะนั้นยังคงใช้แบบอย่างตัวอักษรของ เจมส์ โลว์ แต่ได้แก้ไขให้สวยงามและมีความประณีตมากขึ้น มาจนกระทั่งราวปี พ.ศ.2385  ที่ได้มีการปรับปรุงรูปลักษณ์ของตัวอักษรอย่างเด่นชัด โดยออกแบบให้ตัวอักษรมีลักษณะเป็นแบบหัวกลม ตัวเหลี่ยม ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การสร้างรูปแบบตัวอักษรในครั้งนี้ ได้เป็นแบบอย่างในการพัฒนารูปแบบตัวอักษรที่ใช้ในวงการพิมพ์จนถึงทุกวันนี้
                    

 

 

ฟังเพลง ก ไก่

เกี่ยวกับวิธีประดิษฐ์อักษรไทย ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นเรื่องย่อจากหนังสือ “สันนิษฐานเทียบการเขียนอักษรไทยกับอักษรขอม ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง” ตามการสันนิษฐานของศาสตรมจารย์ฉ่ำ ทองตำวรรณ ซึ่งดำเนินตามแนวคิดของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ที่ว่า “การที่ของพ่อขุนราม คำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นครั้งนั้น ดูเหมือนพระองค์ได้ทรงแปลงมาจาก ตัวอักษรขอมหวัด”

**  ข้อมูลข้างต้นได้จากหนังสือวิธีประดิษฐ์อักษรไทย

ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่ราชบัณฑิตยสถาน

ได้จัดพิมพ์ เนื่องในงานฉลอง 700 ปี ลายสือไทย

โดย บริษัท ประยูรวงศ์ จำกัด  เมื่อปีพุทธศัการาช 2527